สรุป พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หมวด 1-7

สรุป พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หมวด 1-7
หมวด 1 บททั่วไป
    คำนิยาม



ม.6  
(1) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการในการควบคุมหรือกำกับดูแลตามพ.ร.บ. นี้
(2) กำหนดมาตรฐานสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน และวิธีการดำเนินการเพื่อตรวจสอบควบคุมหรือกำกับดูแล หรือแก้ไขสิ่งที่จะมีผลกระทบ
ม.8 ในกรณีที่เกิดจำเป็นต้องมีการแก้ไขโดยเร่งด่วน ให้อธิบดีกรมอนามัยมีอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าของวัตถุหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดหรืออาจเกิดความเสียหายดังกล่าว ระงับการกระทำ

–ถ้าบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามคำสั่งภายในระยะเวลาตามสมควร อธิบดีกรมอนามัยจะสั่งให้จพง.สาธารณสุขปฏิบัติการใด ๆ เพื่อแก้ไขหรือป้องกันความเสียหายดังกล่าว
หมวด 2  คณะกรรมการสาธารณสุข
ม.9 ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ
•อธิบดีกรมการแพทย์
•อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
•อธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ
•เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
•อธิบดีกรมการปกครอง
•อธิบดีกรมตำรวจ
•อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
•อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
•อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
•เลขาธิการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
•ปลัดกรุงเทพมหานคร
•ผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินห้าคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจาก ผู้มีความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์ในการสาธารณสุขเป็นกรรมการ
•อธิบดีกรมอนามัยเป็นกรรมการและเลขานุการ
ม.10
(1) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการกำหนดนโยบาย แผนงานและมาตรการเกี่ยวกับการสาธารณสุข และพิจารณาให้ความเห็นในเรื่องใด ๆ เกี่ยวกับการสาธารณสุขตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
(2) ศึกษา วิเคราะห์และให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีในการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่ง
(3) ให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง และต่อราชการส่วนท้องถิ่นในการออกข้อกำหนด
  (4) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
  (5) กำหนดโครงการและประสานระหว่างส่วนราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามพรบ.นี้
  (6) ควบคุมสอดส่องการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมาย
  (7) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่คณะกรรมการ
ม.12 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปีกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
ม.13 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามม.12 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) ตาย  
(2) ลาออก  
(3) รัฐมนตรีให้ออก  
(4) เป็นบุคคลล้มละลาย
 (5) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
 (6) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ม.14 การแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วนั้น
ม.15 การประชุมต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
  ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
  การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
  ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ม.16 ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
ม.17 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพรบ.นี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
หมวด 3  การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
ม.18 การกำจัดสิ่งปฏิกูลฯในเขตราชการส่วนท้องถิ่นใดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นนั้น
ม.19 ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ม.20
  (1) ห้ามการถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งสิ่งปฏิกูลฯนอกจากในที่ที่จัดไว้ให้
  (2) กำหนดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตามที่หรือทางสาธารณะและสถานที่เอกชน
  (3) กำหนดวิธีการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยหรือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใดๆ ปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามสภาพหรือลักษณะการใช้อาคารหรือสถานที่นั้น ๆ
  (4) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่นในการเก็บและขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยไม่เกินอัตราตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(5) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตตามม.19 ปฏิบัติ กำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงตามลักษณะการให้บริการที่ผู้รับใบอนุญาตตามม.19 จะพึงเรียกเก็บได้
(6) กำหนดการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
หมวด 4 สุขลักษณะของอาคาร
ม.21 อาคารหรือส่วนของอาคารซึ่งต่อเนื่องกับอาคาร มีสภาพชำรุดทรุดโทรม หรือปล่อยให้มีสภาพรกรุงรังจนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยหรือมีลักษณะไม่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะของการใช้เป็นที่อยู่อาศัย ให้จพง.ท้องถิ่นมีอำนาจ ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารนั้นจัดการแก้ไข เปลี่ยนแปลง รื้อถอนอาคาร ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะภายในเวลาซึ่งกำหนดให้ตามสมควร
ม.23 ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งภายในเวลาที่กำหนด จพท.ท้องถิ่นมีอำนาจดำเนินการแทนได้ โดยเจ้าของต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการนั้น
ม.24 กำหนดจำนวนคนต่อจำนวนพื้นที่ของอาคารทั้งนี้โดยคำนึงถึงสภาพความเจริญจำนวนประชากรและย่านชุมชนของแต่ละท้องถิ่น
  ห้ามมิให้เจ้าของอาคารตามประกาศนั้นยอมหรือจัดให้อาคารของตนมีคนอยู่เกินจำนวนที่รัฐมนตรีกำหนด
หมวด 5 เหตุรำคาญ
(1) แหล่งน้ำ ทางระบายน้ำ ที่อาบน้ำ ส้วม หรือที่ใส่มูลหรือเถ้า หรือที่อื่นใด ซึ่งอยู่ในทำเลไม่เหมาะสม สกปรก มีการสะสมหรือหมักหมมสิ่งของมีการเททิ้งสิ่งใดเป็นเหตุให้มีกลิ่นเหม็นหรือละอองเป็นพิษ หรือเป็นหรือน่าจะเป็นที่เพาะพันธุ์พาหะนำโรค หรือก่อให้เกิดความเสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(2) การเลี้ยงสัตว์ในที่หรือโดยวิธีใด หรือมีจำนวนเกินสมควรเป็นเหตุให้เสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(3) อาคารอันเป็นที่อยู่ของคนหรือสัตว์ โรงงานหรือสถานที่ใดไม่มีการระบายอากาศ การระบายน้ำ การกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือการควบคุมสารเป็นพิษหรือมีแต่ไม่มีการควบคุมให้ปราศจากกลิ่นเหม็นหรือละอองสารเป็นพิษอย่างพอเพียงจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(4) การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือนฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(5) เหตุอื่นใดที่รัฐมนตรีกำหนดประกาศในราชกิจจานุเบกษา  
ม.26 จพง.ท้องถิ่นมีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดมิให้ก่อเหตุรำคาญในที่หรือทางสาธารณะ
  มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กำจัดและควบคุมเหตุรำคาญต่าง ๆ ได้
ม.27 ในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่ง การก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการนั้น
ม.28 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควร ไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่ง ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการนั้น
หมวด 6 การควบคุมการเลี้ยงหรือการปล่อยสัตว์
•ม.29 มีอำนาจออกข้อกำหนดของท้องถิ่นกำหนดให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของพื้นที่ในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ได้
•ม.30 พบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะฝ่าฝืนม.29 โดยไม่ปรากฏเจ้าของ มีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืน ให้สัตว์นั้นตกเป็นของราชการส่วนท้องถิ่น
  แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร จะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้ เงินที่ได้จากการขายเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์
  ในกรณีมิได้มีการขายและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลา เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ปรากฎว่าสัตว์ที่พบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้มีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
หมวด 7 กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ม.32
  (1) กำหนดประเภทของกิจการ บางกิจการหรือทุกกิจการให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่นนั้น
  (2) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปสำหรับให้ผู้ดำเนินกิจการตาม (1) ปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ดำเนินกิจการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
ม.33 เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อกำหนด ใช้บังคับห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่มีข้อกำหนดของท้องถิ่นกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากจพง.ท้องถิ่นในการออกใบอนุญาต

สามารถดาวน์โหลดสรุปทุกหมวดได้ที่นี้ 
https://docs.google.com/document/d/1-kAGxHPgH-dOQT2Xu0Kid5gorrzQ8BN4Wi5Egl9fYgM/edit