สรุปย่อ พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองพ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองพ.ศ. 2535
บังคับใช้ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
                    หมวด 1 การรักษาความสะอาดในที่สาธารณะและสถานสาธารณะ
                    หมวด 2 การดูแลรักษาสนามหญ้าและต้นไม้ในถนนและสถานสาธารณะ
                    หมวด 3 การห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูลมูลฝอยในที่สาธารณะและสถานสาธารณะ
                    หมวด 4 การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย
                    หมวด 5 อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
                    หมวด 6 บทกำหนดโทษ
ให้ใช้บังคับในเขตเทศบาล สุขาภิบาลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

หมวด 1 การรักษาความสะอาดในที่สาธารณะและสถานสาธารณะ
.6 เจ้าของอาคาร บริเวณของอาคารที่อยู่ติดกับทางเท้า มีหน้าที่ดูแลรักษาความสะอาดทางเท้าที่อยู่ติดกับอาคารหรือบริเวณของอาคาร
                ในกรณีที่เป็นตลาด ให้เจ้าของตลาดมีหน้าที่ดูแลรักษาความสะอาด และทางเท้าด้วย
.7 ถ้าผู้ถูกแจ้งหรือผู้ถูกห้ามไม่ปฏิบัติตาม ให้รีบแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
.8
                (1) วางกระถางต้นไม้บนทางเท้าหรือปลูกต้นไม้ที่บริเวณภายนอกอาคารที่ตนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองและปล่อยปละละเลยให้ต้นไม้เหี่ยวแห้งหรือมีสภาพรกรุงรัง
                (2) ปล่อยปละละเลยให้ต้นไม้หรือธัญพืชที่ตนปลูกไว้หรือที่ขึ้นเองในที่ดินของตนให้เหี่ยวแห้งหรือมีสภาพรกรุงรัง หรือปล่อยปละละเลยให้มีการทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในบริเวณที่ดินของตน
.9 ห้ามมิให้ผู้ใดอาบน้ำหรือซักล้างสิ่งใด ๆ บนถนน หรือในสถานสาธารณะซึ่งมิได้จัดไว้เพื่อการนั้น หรือในบริเวณทางน้ำที่ได้ประกาศห้ามไว้
.10 การโฆษณาด้วยการปิด ทิ้ง หรือโปรยแผ่นประกาศหรือใบปลิวในที่สาธารณะ จะกระทำได้เมื่อได้รับหนังสืออนุญาต และต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสืออนุญาตด้วย
.12 ห้ามมิให้ผู้ใดขูด กระเทาะ ขีด เขียน พ่นสี หรือทำให้ปรากฏด้วยประการใดๆ ซึ่งข้อความ ภาพ หรือรูปรอยใดๆ ที่กำแพงที่ติดกับถนน บนถนนที่ต้นไม้หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่อยู่ติดกับถนนหรืออยู่ในที่สาธารณะ เว้นแต่เป็นการกระทำของราชการส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนอื่นหรือรัฐวิสาหกิจหรือของหน่วยงานที่มีอำนาจกระทำได้
.13 เจ้าของรถซึ่งใช้บรรทุกสัตว์ กรวด หิน ดิน เลน ทราย สิ่งปฏิกูล มูลฝอยหรือสิ่งอื่นใด ต้องจัดให้รถนั้นอยู่ในสภาพที่ป้องกันมิให้มูลสัตว์หรือสิ่งดังกล่าวตกหล่นรั่วไหล ปลิว ฟุ้ง กระจายลงบนถนนในระหว่างที่ใช้รถ มิให้น้ำมันจากรถรั่วไหลลงบนถนน
.14 ห้ามมิให้ผู้ใด
                (1) ปล่อยสัตว์ นำสัตว์ หรือจูงสัตว์ไปตามถนนหรือเข้าไปในบริเวณที่ประกาศห้ามไว้
                (2) ปล่อยให้สัตว์ถ่ายมูลบนถนนและมิได้ขจัดมูล
.15 ห้ามมิให้ผู้ใดล้างรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนบนถนนหรือสถานสาธารณะและทำให้ถนนหรือสถานสาธารณะสกปรกเลอะเทอะ
.16 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้ส่วนหนึ่งส่วนใดของถนนเป็นสถานที่ซ่อมเปลี่ยนแปลง ต่อเติม หรือติดตั้งอุปกรณ์รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อน
                ยกเว้นรถเสียบนท้องถนน
.17 ห้ามมิให้ผู้ใด
                (1) กระทำ ให้ทางเท้าชำรุดเสียหาย
                (2) จอดหรือขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อน บนทางเท้า เว้นแต่เป็นการจอดหรือขับขี่เพื่อเข้าไปในอาคารหรือมีประกาศผ่อนผันให้จอดหรือขับขี่ได้
.18 ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้ง วาง หรือกองซากยานยนต์บนถนนหรือสถานสาธารณะ
.19 ห้ามมิให้ผู้ใดตั้ง วาง หรือกองวัตถุใดๆ บนถนน เว้นแต่เป็นการกระทำในบริเวณที่ประกาศกำหนด
.20 ห้ามมิให้ผู้ใด
                (1) ปรุงอาหาร ขายหรือจำหน่ายสินค้าบนถนน หรือในสถานสาธารณะ
                (2) ใช้รถยนต์หรือล้อเลื่อนเป็นที่ปรุงอาหารเพื่อขายหรือจำหน่ายบนถนนหรือในสถานสาธารณะ
                (3) ขายหรือจำหน่ายสินค้าซึ่งบรรทุกบนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนบนถนน
.21 ห้ามมิให้ผู้อยู่ในรถยนต์หรือผู้ขับขี่หรือผู้นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ซื้อสินค้าที่ขายหรือจำหน่ายในสถานสาธารณะหรือบนถนนยกเว้นถนนส่วนบุคคล
.22 ห้ามมิให้ผู้ใดจูง ไล่ หรือต้อนสัตว์ลงไปในทางน้ำซึ่งได้ปิดประกาศห้ามไว้ ณ บริเวณดังกล่าว
.23 ห้ามมิให้ผู้ใดเทหรือทิ้งกรวด หิน ดิน เลน ทราย หรือเศษวัตถุก่อสร้างลงในทางน้ำ หรือกองไว้ หรือกระทำด้วยประการใดๆ ให้วัตถุดังกล่าวไหลหรือตกลงในทางน้ำ
.24 เจ้าของร้านจำหน่ายอาหารและหรือเครื่องดื่มซึ่งจัดสถานที่ไว้สำหรับบริการลูกค้าได้ในขณะเดียวกันไม่ต่ำกว่ายี่สิบคน ต้องจัดให้มีส้วมที่ต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อให้ลูกค้าใช้ในระหว่างเปิดทำการค้า
.25 เจ้าของสถานีบริการการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซสำหรับยานพาหนะ ต้องจัดให้มีส้วมที่ต้องด้วยสุขลักษณะ
หมวด 2 การดูแลรักษาสนามหญ้าและต้นไม้ในถนนและสถานสาธารณะ
.26 ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูล มูลฝอย หรือเท หรือกองกรวด หิน ดินเลน ทราย หรือสิ่งอื่นใดในบริเวณที่ได้ปลูกหญ้าหรือต้นไม้ซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นราชการส่วนอื่นหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ
.27 ห้ามโค่นต้นไม้ ตัด เด็ด ให้เกิดความเสียหายหรือน่าจะเป็นอันตรายแก่ต้นไม้ หรือใบ ดอก ผลหรือส่วนหนึ่งของต้นไม้ที่ปลูกไว้หรือขึ้นเองตามธรรมชาติในสถานสาธารณะ เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ
.28 ห้ามปล่อยหรือจูงสัตว์เข้าไปในบริเวณที่ราชการส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนอื่น หรือรัฐวิสาหกิจได้ปลูกหรืออนุญาตให้ผู้อื่นปลูกหญ้าหรือต้นไม้ไว้ และได้ปิดประกาศหรือปักป้ายห้ามไว้
หมวด 3 การห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูลมูลฝอยในที่สาธารณะและสถานสาธารณะ
.29 ห้ามถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะลงในที่สาธารณะซึ่งมิใช่สถานที่ที่ได้จัดไว้เพื่อการนั้น
.30 ห้ามเท ปล่อยหรือระบายอุจจาระหรือปัสสาวะจากอาคารหรือยานพาหนะลงในทางน้ำ
.31 ห้าม
                (1) บ้วนหรือถ่มน้ำลาย เสมหะ บ้วนน้ำหมาก สั่งน้ำมูก เท ทิ้ง ลงบนถนนหรือพื้นรถหรือพื้นเรือโดยสาร
                (2) ทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในสถานสาธารณะนอกภาชนะหรือที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นได้จัดไว้
.32 ห้าม
                (1) ทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยลงบนที่สาธารณะ
                (2) ปล่อยปละละเลยให้มีสิ่งปฏิกูลในที่ดินของตนในสภาพที่ประชาชนอาจเห็นได้จากที่สาธารณะ
.33 ห้ามเทหรือทิ้งสิ่งปฏิกูล มูลฝอย น้ำโสโครกหรือสิ่งอื่นใดลงบนถนนหรือในทางน้ำ มิให้ใช้บังคับแก่เจ้าของ หรือผู้ครอบครองเรือหรืออาคารประเภทเรือนแพ ซึ่งจอดหรืออยู่ในท้องที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังไม่ได้จัดส้วมสาธารณะ หรือภาชนะสำหรับทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
.34 ห้ามมิให้ผู้ใดเท หรืออุจจาระ หรือปัสสาวะจากอาคารหรือยานพาหนะลงในที่สาธารณะ
หมวด 4 การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย
.35 ห้ามกระทำด้วยประการใดๆ ให้โคมไฟ ป้าย ศาลาที่พัก ม้านั่ง ส้วม หรือสิ่งอื่นใด ที่ราชการส่วนท้องถิ่น ฃราชการส่วนอื่นหรือรัฐวิสาหกิจได้จัดทำไว้เพื่อสาธารณชนเกิดความเสียหายหรือใช้ประโยชน์ไม่ได้
.36 ต้นไม้ในที่สาธารณะ
.37 ห้ามยืน นั่ง หรือนอนบนราวสะพานสาธารณะ หรือนอนในที่สาธารณะ                              
.38 ห้ามติดตั้ง ตาก วาง หรือแขวนสิ่งใดๆ ที่อาคารในลักษณะที่สกปรกรกรุงรังหรือไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยและมีสภาพที่ประชาชนอาจเห็นได้จากที่สาธารณะ
                 มิได้มีหนังสืออนุญาตมีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำการปลด หรือรื้อถอนภายในเวลาที่กำหนด
.40 ห้ามติดตั้ง ตาก วาง หรือแขวนสิ่งใดๆ ที่อาคารในลักษณะที่สกปรกรกรุงรังหรือไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยและมีสภาพที่ประชาชนอาจเห็นได้จากที่สาธารณะ
.41 เจ้าของอาคารซึ่งตั้งอยู่ในระยะไม่เกินยี่สิบเมตรจากขอบทางเดินรถที่มีผิวจราจรกว้างไม่ต่ำกว่าแปดเมตร และที่ผู้สัญจรไปมาอาจเห็นอาคารหรือบริเวณของอาคารได้จากถนนนั้น ต้องดูแลรักษาอาคารนั้นมิให้สกปรกรกรุงรัง
หมวด 5 อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
.42 ในเขตกทม.ให้เป็นอำนาจของรมต.ว่าการกระทรวงมหาดไทยที่จะให้คำแนะนำผู้ว่าราชการกทม.
                ในเขตเทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา และองค์การปกครองท้องถิ่นอื่นให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด และของปลัดกระทรวงมหาดไทยสำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด
.43 ผู้ว่าราชการกทม. ผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี ประธานกรรมการสขุาภิบาล ปลัดเมืองพัทยามีหน้าที่รับผิดชอบการปฏิบัติตามพรบ.นี้
                ในกรณีที่ได้มีการมอบหมายให้รองผู้ว่าราชการกทม.หรือปลัดกทม. รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ เทศมนตรีหรือปลัดเทศบาล กรรมการสุขาภิบาล ปลัดสุขาภิบาลหรือผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นช่วยปฏิบัติหน้าที่ให้ผู้ได้รับมอบหมายมีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้มอบหมาย
.44 นอกจากอำนาจหน้าที่ที่ได้บัญญัติไว้ในพรบ.นี้ ให้ที่มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
                (1) โฆษณาให้ประชาชนได้ทราบถึงหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตาม
                (2) สอดส่องและกวดขันไม่ให้มีการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้โดยเคร่งครัด
                (3) ตักเตือนผู้กระทำความผิดหรือสั่งให้ผู้กระทำความผิดแก้ไขหรือขจัดความสกปรก หรือความไม่เป็นระเบียบหรือความไม่เรียบร้อยให้หมดไป
                (4) จับกุมผู้กระทำความผิดซึ่งไม่เชื่อฟังคำตักเตือนและดำเนินคดี
.45 เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นในท้องที่ใดและพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจทราบตัวผู้กระทำผิด ให้ทุกคนร่วมกันขจัดหรือแก้ไขไม่ให้สิ่งที่ผิดกฎหมายปรากฏอยู่ในที่สาธารณะอีกต่อไป ให้จัดหาอุปกรณ์และอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการ และให้วางระเบียบการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่
.46 ในกรณีที่ได้จับกุมผู้กระทำความผิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้กระทำความผิดจัดการลบ ล้าง กวาด เก็บ ตกแต่ง ปรับปรุงสิ่งที่เป็นความผิดมิให้ปรากฏอีกต่อไปภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้กระทำความผิดปฏิบัติตามให้คดีเป็นอันเลิกกัน ถ้าผู้ไม่ปฏิบัติตาม มีอำนาจจัดทำหรือมอบหมายให้ผู้อื่นจัดทำให้เกิดความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย และให้ผู้กระทำความผิดชดใช้ค่าใช้จ่าย
.47 ให้มีอำนาจประกาศกำหนดเวลาห้ามเข้าหรืออยู่ในสถานสาธารณะ ประกาศนั้นให้ติดตั้งหรือแขวนไว้ในบริเวณสถานสาธารณะที่ห้ามนั้นซึ่งเห็นได้ง่าย
.48 บรรดาความผิด ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งและพนักงานสอบสวน มีอำนาจเปรียบเทียบได้ เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในสิบห้าวันแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                ถ้าไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบหรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลา ให้ดำเนินคดีเพื่อฟ้องร้องต่อไป
                ค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบ ให้แบ่งแก่ผู้แจ้งกึ่งหนึ่ง ผู้จับกุมอีกกึ่งหนึ่ง
.50 ในกรณีที่มีการกระทำความผิดหรือมีเหตุอันควรสงสัย มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดหรือผู้ที่ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดนั้น พร้อมด้วยยานพาหนะ เครื่องมือและสิ่งของที่ใช้ในการกระทำความผิดเพื่อดำเนินการตามกฎหมายได้ ในการปฏิบัติหน้าที่ให้แสดงบัตรประจำตัวเมื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องร้องขอบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนด
.51 ในกรณีที่มีผู้กระทำความผิด ประชาชนผู้พบเห็นอาจแจ้งความต่อพนักงาน เพื่อให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่โดยไม่ชักช้าและให้ถือว่าประชาชนผู้พบเห็นการกระทำความผิดดังกล่าวเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
หมวด 6 บทลงโทษ
ม.52 ฝ่าฝืนม.9 ม.14 ม.36 ม.37 ม.38 ม.47 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
ม.53 ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ม.6 ม.21 ม.28 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ม.54 ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ม.8,1 ม.15 ม.20 ม.22 ม.26 ม.27 ม.29 ม.31 ม.32 ม.35 ม.39 ม.40 ม.41 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
ม.55 ผู้ใดขับขี่รถซึ่งบรรทุกมูลสัตว์ กรวด หิน ดิน เลน ทราย มูลฝอยหรือมีน้ำมัน และวัตถุดังกล่าวได้ตกหล่น ปลิว ฟุ้งกระจาย หรือรั่วไหลลงบนถนน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามพันบาท
ม.56 ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ม.10,1 ม.12 ม.16,1 ม.17 ม.18 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
ม.57 ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ม.13,1 ม.19 ม.23 ม.30 ม.33,1 ม.34 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ม.58 ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ม.24 ม.25 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท และต้องระวางโทษปรับอีกวันละหนึ่งร้อยบาทเรียงรายวันจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ม.59 ไม่ปฏิบัติ ม.57 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามที่มีการแจ้งความนั้น