แนวข้อสอบ พรบ.การสาธารสุข พ.ศ.2535 ข้อ 31-40

31.เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ ขน  และการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรืมูลฝอยให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อกำหนดของท้องถิ่นอย่างไร
ตอบ 
1)ห้ามการถ่ายเท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยนอกจากในที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดไว้ใช้                         
2)กำหนดให้มีที่รองรับปฏิกูลหรือมูลฝอยตามที่หรือทางสาธารณะและสถานที่เอกชน
3)กำหนดวิธีการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยหรือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือมูลฝอย หรือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใดๆปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามสภาพหรือลักษณะการใช้อาคารหรือสถานที่นั้นๆ
4)กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่นในการเก็บและขนสิ่งปฎิกูลหรือมูลฝอย ไม่เกินอัตราตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
5)กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการและเงื่อนไขในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย กำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงตามลักษณะการให้บริการที่ผู้รับใบอนุญาต จะพึงเรียกเก็บ
6)กำหนดการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
                        
32.เมื่อปรากฎแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าอาคารหรือส่วนของอาคารใดหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งต่อเนื่องกับอาคารมีสภาพชำรุดทรุดโทรม หรือปล่อยให้มีสภาพรกรุงรัง จนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ให้เจ้าพนักงารท้องถิ่นทำอย่างไร
ตอบ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารนั้นจัดการ แก้ไข เปลี่ยนแปลง รื้อถอน อาคารกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งต่อเนื่องกับอาคารทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือจัดการอย่างอื่นตามความจำเป็น เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

33.เหตุรำคาญคืออะไรบ้าง
ตอบ
1) แหล่งน้ำ ทางระบายน้ำ ที่อาบน้ำ ส้วม หรือที่ใส่มูลหรือเถ้า หรือที่อื่นใด ซึ่งอยู่ในทำเลไม่เหมาะสม สกปรก มีการสะสมหรือหมักหมมสิ่งของมีการเททิ้งสิ่งใดเป็นเหตุให้มีกลิ่นเหม็นหรือละอองเป็นพิษ หรือเป็นหรือน่าจะเป็นที่เพาะพันธุ์พาหะนำโรค หรือก่อให้เกิดความเสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
2) การเลี้ยงสัตว์ในที่หรือโดยวิธีใด หรือมีจำนวนเกินสมควรเป็นเหตุให้เสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
3) อาคารอันเป็นที่อยู่ของคนหรือสัตว์ โรงงานหรือสถานที่ใดไม่มีการระบายอากาศ การระบายน้ำ การกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือการควบคุมสารเป็นพิษหรือมีแต่ไม่มีการควบคุมให้ปราศจากกลิ่นเหม็นหรือละอองสารเป็นพิษอย่างพอเพียงจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
4) การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือนฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
5) เหตุอื่นใดที่รัฐมนตรีกำหนดประกาศในราชกิจจานุเบกษา

34.ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทำอย่างไร
ตอบ ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เ้จ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรำคาญเป็นเวลาอันสมควร

35.ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น พบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืน โดยไม่ปรากฏเจ้าของ  ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทำอย่างไร
ตอบ กักสัตว์ดังกล่าวไว้อย่างน้อยสามสิบวัน                                                                                     
36.จากข้อ 35.กำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักบานการเปลี่ยนเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืน ให้กำหนดอย่างไร
ตอบ ให้สัตว์นั้นตกเป็นของราชการส่วนท้องถิ่น แตถ้าการกักสัตว์ อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือมีรายจ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นขายทอดตลาด ถ้าเจ้าของมารับคืนให้เจ้าของจ่ายส่วนที่ใช้จ่าย                                                                       
37.เพื่อเป็นประโยชน์ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการในราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจข้อกำหนดอย่างไร
ตอบ
1)กำหนดประเภทของกิจการ
2)กำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ทั่วไปสำหรับให้ผู้ดำเนินกิจการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ                                                    
38.เมื่อพ้นกำหนดกี่วันนับแต่วันที่ข้อกำหนดของท้องถิ่นเกี่ยวกับกิจกาารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ใช้บังคับห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่มีข้อกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุม
ตอบ 90 วัน                                                                                        
39.บุคคลใดสามารถจัดตั้งตลาดได้
ตอบ บุคคลที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และผู้ที่จะต้องการขยายรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับอนุญาต จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงาน
             
40.การกำกับดูแลตลาด ในราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อกำหนดของท้องถิ่น อย่างไรบ้าง
ตอบ
1) กำหนดที่ตั้ง เนื้อที่ แผนผังและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างและสุขลักษณะ
2) กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสถานที่ การวางสิ่งของและการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการตลาด
3) กำหนดเวลาเปิดและปิดตลาด
4) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกต้องตามสุขลักษณะและอนามัย การจัดให้มีที่รวบรวมหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย การระบายน้ำทิ้ง การระบายอากาศ การจัดให้มีการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ

แนวข้อสอบ  พรบ.การสาธารสุข พ.ศ.2535
ข้อ 81-90
ข้อ 91-93

ตัวอย่างแนวข้อสอบอนามัยสิ่งแวดล้อม แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม  แนวข้อสอบนักวิชาการสุขาภิบาล  ตัวอย่างแนวข้อสอบนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างแนวข้อสอบนักวิชการสาธารณสุข